ไม่ได้ปิดเครื่องมาหลายวัน เมื่อเช้าต้องปิดเครื่อง เพราะต้องเข้าทดสอบระบบที่ ISP ปรากฏว่า เอามือลูบ ๆ ที่ TouchPad แล้ว เมาส์พอยเตอร์ไม่เคลื่อนตาม เอาหละสิ TouchPad เสียหรือเปล่าหว่า แต่ก็ยังคิดว่าไม่น่า
ค้นไปจนเจอ http://wiki.debian.org/SynapticsTouchpad และก็ได้วิธีการที่ทำให้ TouchPad กลับมาทำงานเหมือนเดิม
# echo psmouse >> /etc/modules # echo "options psmouse proto=imps" > /etc/modprobe.d/psmouse.conf
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ทำไม module นี้ถึงไม่โหลดอัตโนมัติ
ไม่ต้อง reboot ก็โหลด module ใหม่ได้ เสร็จก็ทำงานได้ตามปกติ
# modprobe -r psmouse # modprobe psmouse
เมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสทำ Debian package สำหรับ flvmeta (http://code.google.com/p/flvmeta) ซึ่งมีคนมาแสดงความต้องการแพ็คเกจนี้ ใน Debian WNPP list และด้วยความที่ร้างจากการทำ package ไปนาน เลยอยากลองทำอีกครั้ง เพื่อเป็นการฝึกฝนตัวเอง เพื่อไม่ให้ลืมกระบวนการ เพราะวิธีการทำ Debian package ต้องละเอียด และรอบคอบ เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ Debian ตั้งไว้
เข้าหน้าหนาวแล้ว รู้สึกได้ว่าอากาศเย็นลงอย่างมาก สงสารก็แต่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ต้องเผชิญกับทั้งปัญหาน้ำ และความหนาวเย็น ล่าสุดก็ไม่แน่ใจว่า บ้านที่อยู่ทุกวันนี้ที่ จ.มหาสารคาม จะรอดพ้นจากน้ำที่มาตามลำน้ำชีได้หรือเปล่า ก็หวังว่า จะไม่เกิดท่วม หรือไม่ก็ขอให้ท่วมแบบไม่รุนแรง
หลังจากที่หาวิธีอยู่นาน ที่จะ ssh เข้าไปที่ NAS Box ที่เจ้าดิวซื้อมา และเอามาฝากไว้ที่บ้าน
ในเบื้องต้น คิดว่าอาจจะต้อง เข้าไปแก้ rootfs ของ firmware upgrade แต่ว่า วันนี้ ไปเจอวิธีที่ง่าย และไม่เสี่ยง (http://buffalo.nas-central.org/wiki/Category:LS-WXL) เลยจัดการ upgrade firmware ไปเป็นรุ่นล่าสุด 1.34 และทำตามกระบวนการในการที่จะได้มาซึ่งสิทธิ์ root
ระหว่าง upgrade ก็ใช้เวลานานพอสมควร หลังจากเขียนข้อมูลใหม่เสร็จ ระบบให้รอเพื่อที่ให้ Box เริ่มทำงาน แต่ว่า รอนานจนผิดสังเกต ต้องเริ่มเปิดเครื่องใหม่ อีกสัก สอง สามรอบ กว่าจะกลับมาทำงานได้ปกติ ดูรุ่นก็เป็น 1.34 แล้ว
"น้องมิวสิค" เสริมสวยคอยระหว่างนั่งรอ
สวยแล้ว หอมแก้มกันหน่อย
หลังจากที่ห่างหายจากการพัฒนา RahuNAS มาสักระยะ เนื่องด้วยงานประจำที่ทำอยู่ก็หนักเอาการ แต่ด้วยการที่ตบปากรับคำกับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าจะพัฒนาส่วนต่อเพิ่มเติม เพื่อให้ระบบ RahuNAS สามารถแยกผู้ใช้ออกเป็นประเภท (Class-Of-Service) ได้
โดยเป้าหมายคือ การแปลงร่าง จากผู้ใช้ธรรมดา เป็นผู้ใช้พิเศษ ตามแต่ระบบจะกำหนด โดยใช้หลักการเรื่องการเปลี่ยน IP ต้นทาง - ปลายทาง (Source, Destination NAT - SNAT, DNAT) ซึ่งจะทำให้การจัดการที่ Packets Shaper หรือ Firewall ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากว่า ถ้าผู้ใช้ท่านใด ได้รับสิทธิพิเศษ ระบบก็จะแปลงร่างผู้ใช้นั้น ๆ จาก IP ปกติ ไปเป็น IP กลุ่มพิเศษ ที่สามารถผ่าน Firewall หรือได้รับความเร็วพิเศษกว่าผู้ใช้ปกติได้ (หลายท่านที่เป็นเซียนทางด้านการปลอมตัว คงจะคิดว่า ถ้าล่วงรู้ IP ในกลุ่มพิเศษหละ ก็ออกเป็นกลุ่มพิเศษได้สิ คำตอบ คือ ถ้าแปลงร่างตั้งแต่ก่อนจะเข้าถึงเครื่องตรวจสอบสิทธิ์ ก็เปล่าประโยชน์ เนื่องจากระบบตรวจสอบสิทธิ์ ก็จะตรวจสอบ และแจ้งผู้ใช้ว่า เข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง)
ระบบ NAT ที่เรารู้จักกันดี คือ target SNAT และ DNAT ซึ่งโดยหลักการแล้วก็ใช้ได้กับแนวคิดที่วางไว้ข้างต้น
Full NAT
# iptables -t nat -A PREROUTING -d 10.0.0.10 -j DNAT --to-destination 172.30.0.10
# iptables -t nat -A POSTROUTING -s 172.30.0.10 -j SNAT --to-source 10.0.0.10
แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าใช้หลักการนี้ในการทำงานร่วมกับ Authentication Server สิ่งที่ตามมาคือ
เมื่อวันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2553 ได้รับเกียรติจากทาง NECTEC ให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานตัดสินการแข่งขัน NLC (National Linux Competition) ครั้งที่ 10 (X) คนต่างจังหวัดอย่างผม ก็ต้องเดินทางไกลจากมหาสารคาม ไปก่อนวันงาน 1 วัน โดยขับรถเข้าไปเอง โดยตั้งใจไว้ว่า จะออกจากบ้านตั้งแต่ตอนเช้า เพื่อที่จะไปให้ถึงที่พักก่อนค่ำ (เพื่อกันความสับสนของตัวเอง ในการจราจรของมหานคร) แต่จนแล้วจนรอด ก็ต้องออกสาย เพราะดันลืมโทรศัพท์มือถือ ไว้ที่บ้าน ซึ่งคิดได้ว่าลืม ก็คือ หลังจากส่งภรรยา ไปที่ทำงานแล้ว ต้องย้อนกลับมาบ้านอีกที ก็ใช้เวลาร่วม ๆ หนึ่งชั่วโมง เพราะที่ทำงานภรรยา ห่างจากบ้าน ราว ๆ 30 ก.ม.
วันนี้ อากาศดูครึ้ม ๆ ทำให้ อารมณ์ Debian Maintainer ก็ครึ้ม ๆ ขึ้นมาด้วยเช่นกัน หลังจากไม่ได้ดู package xiterm+thai มานาน
โดยครั้งล่าสุด กว่า xiterm+thai จะได้ migrate เข้า Testing ก็กินเวลานานพอสมควร เนื่องจากติด FTBFS (Fail To Build From Source) ใน Architecture s390 (#844838) ซึ่ง Bug นี้ได้รับความช่วยเหลือจาก พี่เทพ ซึ่งได้เป็น Debian Developer หมาด ๆ มีสิทธิ์เข้าไปใช้ s390 chroot ในเครื่อง Debian server ทำให้รู้สาเหตุที่แน่ชัด ตามข้อมูลใน bug report ข้างต้น ซึ่งข้อผิดพลาดเกิดทาง glibc จึงต้องรอทางนั้นแก้ไขให้ แต่สุดท้ายก็ผ่านไปได้ด้วยดี ตอนนี้ xiterm+thai-1.09-2 ก็อยู่ใน Testing เป็นที่เรียบร้อย
คราวนี้ (ตั้งใจว่าจะทำตั้งนาน แต่ยังไม่ว่าง ตอนนี้ก็ไม่ว่าง แต่ครึ้ม ๆ เลยได้ทำ :P) ตามที่ทาง Debian ได้พัฒนา DebSrc 3.0 ซึ่งดูรายละเอียดแล้ว มีผลดีหลาย ๆ อย่างสำหรับการดูแล package จึงตัดสินใจ เปลี่ยนมาใช้ DebSrc 3.0 ซึ่งการเปลี่ยนครั้งนี้ ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมาก เนื่องด้วย package นี้ไม่ซับซ้อนนั่นเอง ก็เพิ่ม และปรับเปลี่ยนอะไรเข้าไปไม่มาก ตอนนี้ ก็ upload เข้า mentors.debian.net และส่งอีเมล์ร้องขอการ Sponsor จาก Debian Developer ละครับ ที่เหลือคือ รอ DD มาตีมือ หรือถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คงได้ข่าวดีกว่า upload ให้แล้ว :P
ทำงานแบบ Debian ได้ทำเมื่อไร รู้สึกดีเมื่อนั้น มีระบบ ระเบียบ แบบแผน
"ทำในสิ่งที่เชื่อ และเชื่อในสิ่งที่ทำ"
Happy hacking
Choose wisely, live well. (555 มาเป็น Quantum Television ซะงั้น)
Update:
2010-01-21 17:12 โดนตีมือแล้ว 1 ครั้ง .... ประมาท (แก้ไข ส่งเข้าไปใหม่แล้ว)
2010-01-21 22:49 ได้รับคำแนะนำดี ๆ อีกหลายครั้ง ตอนนี้ พี่เทพ (DD คนไทย) upload ให้แล้ว ขอบคุณครับ
ปีนี้ พี่ชาย กับน้องชาย หุ่นเกือบใกล้เคียงกันแล้ว เจอใคร เขาก็ทักว่า ตัวใหญ่ (อ้วน) นะ ทำไงได้ ก็งานมันหนัก ก็เลยทานหนักไปด้วย
หลังจากเสร็จงาน ครอบครัวต้องเดินทางกลับสุรินทร์ กว่าจะถึงบ้านก็ราว ๆ เที่ยงคืน ส่วนผมถึงบ้านก่อน เพราะบ้านอยู่สารคาม เป็นอีกวันที่เหนื่อยอีกครั้ง หลังจากปีที่แล้ว เป็นตัวผมเองที่อุ้ม น้องมิวสิค (ลูกสาว) ถ่ายรูป ในวันเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของตัวเอง
ครั้งต่อไป ก็คงเป็นวันรับปริญญาบัตร ของ มหาบัณฑิต ขอให้จบตามกำหนดนะน้องชาย :P